ฟ้าทะลายโจรชอบอากาศร้อนชื้น พบมากในจีน อินเดีย ไทย มักขึ้นเองตามป่า เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่เลือกดิน แต่โตดีในดินร่วนซุย ระบายน้ำดี ชอบแดดปานกลาง ถ้าอยู่ในที่ร่มทึบเกินไปจะทำให้โตช้า ถ้าโดนแดดจัดเกินไปจะทำให้ใบเล็กและเป็นสีม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees
(วงศ์ Acanthaceae)
ลักษณะพืช:
ฟ้าทะลายโจร เป็นพืชล้มลุก
สูงประมาณ 30-60
ซม. ลำต้นตั้งตรงกิ่งก้านเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม
รูปใบหอก กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 4-10 ซม.
โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน
ก้านใบยาว 2-8 มม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่งและซอกใบ
ช่อโปร่งยาว 5-30 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกสีขาวแกมม่วง มีขน
กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอก สีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม
เมื่อผลแก่จะแตกดีดเมล็ดออกมา มีเมล็ด 8-14 เมล็ด ขนาดเล็ก
สีน้ำตาลแดง ใช้เมล็ดขยายพันธุ์ เนื่องจากเมล็ดฟ้าทะลายโจรมีเปลือกหุ้มหนาและแข็ง
ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการงอก นอกจากนี้เมล็ดยังมีการพักตัว
จึงควรแก้การพักตัวของเมล็ดก่อนนำไปเพาะหรือก่อนการปลูก
- ต้นฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน
- ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม
- ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ
- ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก
แหล่งกระจายพันธุ์ :ฟ้าทะลายโจรมีเขตการกระจายพันธุ์
และเขตการเพาะปลูกได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อน หรือร้อนชื้น
การเพาะปลูก :เป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น
สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล แต่ฤดูที่เหมาะสมคือ ช่วงต้นฤดูฝน
ชอบดินร่วนซุยที่มีการระบายน้ำดี เจริญเติบโตได้ทั้งในสภาพที่ร่มและกลางแจ้ง
ถ้าปลูกในพื้นที่กลางแจ้งจะมีลำต้นเตี้ยและใบหนา
ส่วนในที่ร่มลำต้นจะสูงใบใหญ่แต่บาง พื้นที่ปลูกจึงควรเป็นที่โล่งแจ้ง หรือมีแสงรำไรและมีน้ำอุดมสมบูรณ์
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ส่วนเหนือดิน
(ทั้งต้น)
สารสำคัญ
สารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ
สารกลุ่ม Lactone
เช่น สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) นีโอแอนโดรกราโฟไลด์
(Neoandrographolide) ดิออกซีแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxyandrographolide)
และดิออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxy-11,12-didehydroandrographolide)
เป็นต้น ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมี ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 สูตรโครงสร้างของสารสำคัญที่พบในสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
งานวิจัยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
1. การศึกษาด้านพฤกษเคมี
ในระยะแรกการศึกษาทางเคมีของฟ้าทะลายโจร
คือ ทำการวิเคราะห์หาปริมาณแลคโตนรวม ซึ่งทำได้โดย
นำผงสมุนไพรบดละเอียดมาทำการสกัดด้วยเอธานอล (reflux) จากนั้นนำสารละลายไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีต่างๆหลายขั้นตอน
และขั้นสุดท้ายไตเตรทกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ตามข้อกำหนดของ Thai Herbal
Pharmacopoeia I จะกำหนดให้วัตถุดิบส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจร
มีปริมาณ Total lactone ไม่น้อยกว่า 6% โดยคำนวณเป็น andrographolide
ต่อมาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ทำการพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของสารสำคัญชนิดต่างๆในฟ้าทะลายโจร
โดยการใช้เทคนิค High
Performance Liquid Chromatography (HPLC) ซึ่งตอนเริ่มต้นสามารถทำการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในฟ้าทะลายโจรได้
3 ชนิด ได้แก่ สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide-AP1),
ดิออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxy-11,12-didehydroandrographolide-AP3)
และนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (Neoandrographolide-AP4)
โดยใช้เมทธานอลเป็นตัวทำละลาย
ซึ่งวิธีวิเคราะห์นี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศชื่อ Phytochemical
Analysis ในปี 2004 โดย Pholphana et
al.13 ซึ่งการวิธีวิเคราะห์นี้เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถทำการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญทั้ง
3 ชนิดนี้ได้จากการฉีดสารตัวอย่างสมุนไพรครั้งเดียว
และได้ทำการจดอนุสิทธิบัตรวิธีการเตรียมสารสกัดและวิธีการวิเคราะห์แล้ว
(อนุสิทธิบัตรเลขที่ 1862 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548)14 แต่ปัญหาอีกอย่างของการวิเคราะห์สมุนไพรก็คือ
การขาดแคลนสารมาตรฐานที่จะใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งมีราคาแพง และบางชนิดไม่มีจำหน่าย
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จึงได้ทำการสกัดและแยกสารบริสุทธิ์ทั้ง 3 ชนิดนี้จากฟ้าทะลายโจรขึ้นเอง โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์
และคณะนักวิจัยของห้องปฏิบัติการเภสัชเคมี ทำให้ได้สารที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 95%
และสารบริสุทธิ์ทั้ง 3 ชนิด
ได้ถูกนำมาใช้เป็นสารมาตรฐานในการควบคุณคุณภาพตัวอย่างสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและสารสกัดฟ้าทะลายโจรก่อนนำไปทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่อไป
แต่ต่อมาทางสถาบันฯสามารถที่จะแยกสารบริสุทธิ์จากฟ้าทะลายโจรได้อีก 1 ชนิด คือ สารดิออกซีแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxyandrographolide-AP6)
ซึ่งเป็นสารสำคัญอีกชนิดหนึ่งในฟ้าทะลายโจร
และได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์เพิ่มเติมจากเดิมเพื่อให้สามารถแยกสารสำคัญทั้ง 4
ชนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
รูปแบบสารสำคัญในตัวอย่างสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ดังแสดงในรูปที่ 2 วิธีการตรวจวิเคราะห์นี้ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ปี 2013 ในวารสาร Chinese Medicine15
รูปที่ 2 รูปแบบสารสำคัญในสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอาศัยการตรวจวัด โดยใช้เทคนิค HPLC
รูปที่ 2 รูปแบบสารสำคัญในสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอาศัยการตรวจวัด โดยใช้เทคนิค HPLC
2. การศึกษาด้านเภสัชวิทยาและพิษวิทยา
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ทำการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อใช้ในการรักษาโรคต่างๆ
โดยสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่นำมาทดสอบนั้น
จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในสารสกัดก่อนทุกครั้ง
เพื่อให้ทราบปริมาณสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ที่แน่นอน สารสกัดที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดน้ำที่ทำเป็นผงแห้งแล้ว
โดยใช้เครื่องทำให้เป็นผงแห้งโดยใช้ความร้อน (Spray Dryer)
2.1 ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
สถาบันฯได้ทำการทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำฟ้าทะลายโจรด้วยวิธี
DPPH
assay พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ในระดับปานกลาง
โดยมีค่า SC50 (ค่าที่กำจัดอนุมูลอิสระได้ 50%)
เท่ากับ 75-78 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร
2.2 ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
ทำการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphyloccus
aureus ATCC 25923 ของสารสกัดน้ำฟ้าทะลายโจร โดยใช้วิธี Broth
Macrodilution Method ผลการทดลอง พบว่า ค่า MIC (Minimum
Inhibition Concentration-ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้)
เท่ากับ 32 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
2.3 ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลอง
ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium
falciparum (94) ในหลอดทดลองของสารสกัดน้ำฟ้าทะลายโจร
ผลการทดลอง พบว่า มีค่า IC50 (Inhibition Concentration–ค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ 50%) เท่ากับ 418.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งตามเกณฑ์ของห้องปฏิบัติการฯ
ถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้ และสารบริสุทธิ์ AP1 (Andrographolide)
และ AP3 (14-Deoxy-11,12-didehydroandrographolide)
ให้ผลดีกว่า AP4(Neoandrographolide)
2.4 ฤทธิ์ในการต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
ในการศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบฤทธิ์ของสารบริสุทธิ์ทั้ง
3
ชนิด
ที่มีอยู่ในฟ้าทะลายโจรและสารสกัดน้ำของฟ้าทะลายโจรในการต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วย
Thrombin ในหลอดทดลอง ผลการทดลองพบว่า 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide
(AP3) มีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดได้ดีกว่า andrographolide
(AP1) ในขณะที่ neoandrographolide (AP4)
ไม่มีผล
นอกจากนี้สารสกัดน้ำของฟ้าทะลายโจรก็มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดได้ดีด้วยเช่นกัน
ซึ่งผลงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศชื่อ European Journal
of Pharmacology ในปี 2549 โดย Thisoda et
al.7
2.5 ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
เนื่องจากมีรายงานว่า สาร 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide
(AP3) มีฤทธิ์ในการลดความดันเลือดได้ดี
ดังนั้นทางสถาบันฯจึงได้ทำการศึกษาว่าสารบริสุทธิ์ทั้ง 3 ชนิด
รวมทั้งสารสกัดฟ้าทะลายโจรจะมีฤทธิ์ต่อหลอดเลือดและหัวใจในสัตว์ทดลองแตกต่างกันหรือไม่
จากผลการทดลอง พบว่า 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide (AP3)
มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดและลดอัตราการเต้นของหัวใจได้ดีที่สุด
นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีสาร AP3 สูงจะมีฤทธิ์ในการลดความดันเลือดได้ดีกว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มี AP3ต่ำกว่า จากผลการทดลองนี้บ่งชี้เตือนได้ว่า
ผู้บริโภคที่ได้รับฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณสารสำคัญ AP3 สูง อาจทำให้เกิดอาการของความดันเลือดต่ำได้
จึงควรระมัดระวังในการใช้ฟ้าทะลายโจรด้วย
ผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศชื่อ Planta Medica ในปี 2550 โดย Yoopan et al.6
2.6 ฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง
สถาบันฯได้ทำการศึกษาฤทธิ์ในการต้านการเติบโตของเซลล์มะเร็งสมอง
SK-N-SH
ของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ได้แก่ AP1,
AP3 และ AP4 ในหลอดทดลอง
ซึ่งผลการทดลองพบว่า สารบริสุทธิ์ทั้ง 3 ชนิดนี้
มีฤทธิ์ในการต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งสมองได้ โดยมีฤทธิ์เรียงจากมากไปน้อย คือ AP1,
AP3AP4 จากนั้นได้ทำการศึกษากลไกระดับโมเลกุลของสารทั้ง
3 ชนิดนี้ในการต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง พบว่า
สารนี้ไปยับยั้งวงจรชีวิตของเซลล์ที่ระยะ G1/S phase และกระตุ้นให้เซลล์ตายด้วยขบวนการอะพรอพโธสีส
(Apoptosis) ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในงานประชุม The
5th Princess Chulabhorn International Science Congress:
Evolving Genetics and Its Global Impact ที่จัดขึ้น เมื่อวันที่ 16-20
สิงหาคม 2547 (Thiantanawat et al.)16
ส่วนการศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังของผงฟ้าทะลายโจรในหนูขาว
2
เพศ17 เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยให้ยาในขนาด 0.12, 1.2 และ 2.4 กรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม (เทียบเท่ากับ 1,
10 และ 20 เท่าของขนาดที่ใช้รักษาในคน –
6 กรัมต่อวัน) พบว่า หนูทุกกลุ่มมีการเจริญเติบโตปกติ
ไม่พบความผิดปกติทางโลหิตวิทยาหรือชีวเคมีของเลือด
รวมทั้งลักษณะภายนอกหรือน้ำหนักของอวัยวะภายใน จุลพยาธิสภาพของอวัยวะภายในบางอวัยวะ
ผลการทดลองสรุปได้ว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในขนาดที่ใช้รักษาในคนนั้น
มีความปลอดภัยสูง
การควบคุมคุณภาพสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและผลิตภัณฑ์
การออกฤทธิ์ของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรขึ้นอยู่กับปริมาณของสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร
ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงได้ตามฤดูกาลที่เพาะปลูก แหล่งที่ปลูก
และระยะเวลาเก็บเกี่ยว ตลอดจนระยะเวลาการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของความแปรปรวนของสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร
ทำให้ฟ้าทะลายโจรที่นำมาใช้นั้น รักษาโรคได้ผลการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรนี้
สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้ดีในทุกๆครั้งที่นำมาใช้
มีประสิทธิภาพในการรักษาสม่ำเสมอ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์
โดยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญแต่ละชนิดในวัตถุดิบที่จะนำมาใช้เตรียมผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรทุกครั้ง
สถาบันฯได้ทำการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรที่จำหน่ายในท้องตลาดมาทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ
3
ชนิด พบว่า
ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรนี้มีความแปรปรวนของปริมาณสารสำคัญทั้ง 3 ชนิดในผลิตภัณฑ์มาก (รูปที่ 3) แต่ทุกผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจะมีสาร
andrographolide (AP1) สูงที่สุด รองลงมา คือ 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide
(AP3) ในขณะที่มีสาร neoandrographolide (AP4)
ต่ำที่สุด และใบก็จะมีสารสำคัญสูงกว่าในก้าน จากรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรบางตัวอย่าง จะมีปริมาณสาร AP3 สูงมาก เช่น ตัวอย่างที่ 01, 08, 13 และ 15 เป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในการลดไข้ แก้เจ็บคอ
ก็อาจจะมีผลข้างเคียง คือ มีความดันเลือดต่ำลง ทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนได้
รูปที่ 3 ความแปรปรวนของปริมาณสารสำคัญ 3 ชนิด ในผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่มีขายในท้องตลาด
รูปที่ 3 ความแปรปรวนของปริมาณสารสำคัญ 3 ชนิด ในผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่มีขายในท้องตลาด
นอกจากนี้ทางสถาบันฯยังได้ทำการศึกษาความคงตัวของสารสำคัญทั้ง
3
ชนิดนี้ในผงสมุนไพรที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง13 พบว่า สาร andrographolide (AP1) ค่อนข้างคงที่ตลอดระยะเวลา
2 ปีที่เก็บรักษา ในขณะที่สาร 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide
(AP3) เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เก็บรักษา และสาร neoandrographolide
(AP4) เปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆ
ซึ่งถ้าดูจากผลของการเปลี่ยนแปลงสารแลคโตนรวม จะพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของสารแลคโตนรวมน้อยมาก
จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรที่ใช้อยู่นี้
จะยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนเดิมหรือไม่
ซึ่งถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรที่มีสาร AP3สูงขึ้น
ก็อาจจะรักษาโรคที่สาร AP3 มีฤทธิ์ที่ดีที่สุด
เช่น ช่วยลดความดันเลือด เป็นต้น แต่ถ้าต้องการใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับลดไข้
แก้เจ็บคอเท่านั้น การนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไว้นานแล้วมาใช้ ก็อาจทำให้ได้รับสาร AP3 สูงตามไปด้วย
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับการลดลงของความดันเลือดที่ไม่พึงประสงค์ได้
จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ว่า
สารสำคัญในฟ้าทะลายโจรทั้ง 4 ชนิดนี้
มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แตกต่างกัน
และยังมีการเปลี่ยนแปลงของสารระหว่างการเก็บรักษาเกิดขึ้นได้ด้วย
ดังนั้นวิธีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของสมุนไพรนี้
จึงจำเป็นจะต้องเป็นวิธีที่สามารถวิเคราะห์ปริมาณสารทั้ง 4 ชนิดได้
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีและมีความปลอดภัยสูง
ข้อบ่งใช้ในปัจจุบันและอนาคต
ปัจจุบันในบัญชียาจากสมุนไพร
ปี 2549
ได้แบ่งยาจากสมุนไพรเป็น 2 ชนิด ได้แก่
บัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้เดิม เช่น ยาหอมนวโกฐ ยาประสะมะแว้ง
ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง เป็นต้น ส่วนชนิดที่ 2 คือ บัญชียาพัฒนาจากสมุนไพร
ได้แก่ ขมิ้นชัน ขิง ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลายโจร บัวบก พริก ไพล เป็นต้น
ในบัญชียาจากสมุนไพรนี้ได้ระบุข้อบ่งใช้ของฟ้าทะลายโจรว่า
ใช้รักษาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ รักษาอาการเจ็บคอ (pharyngotonsillitis) บรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ อ่อนเพลีย
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล เป็นต้น
รูปแบบและความแรง แคปซูล /ยาเม็ด/ ยาลูกกลอน
ที่บรรจุผงฟ้าทะลายโจรอบแห้ง 250,
300 และ 350 มก.
ขนาดและวิธีใช้: (รักษาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ)
ครั้งละ 0.5-2 กรัม วันละ 4 ครั้ง
หลังอาหารและก่อนนอน ใช้รักษาไม่เกิน 2 วัน, (รักษาอาการเจ็บคอ) วันละ 3 – 6 กรัม แบ่งให้วันละ 4
ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ใช้รักษาไม่เกิน 7 วัน
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการนำสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์
โดยเฉพาะสัตว์ปีก เช่น การเลี้ยงไก่ เป็นต้น เนื่องจากการเลี้ยงไก่ส่วนใหญ่จะมีการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นปริมาณมาก
ซึ่งจะทำให้มีการตกค้างของสารเหล่านี้ในเนื้อไก่ได้
และอาจจะทำให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ตลอดจนการส่งออกเนื้อไก่ของประเทศไทย
ดังนั้นจึงได้มีการนำสมุนไพรมาใช้ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ โดยได้มีการนำฟ้าทะลายโจร
ซึ่งมีสรรพคุณแก้เจ็บคอ ลดไข้ แก้ท้องเสีย ไปผสมร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น ไพล
ให้ไก่กิน เพื่อป้องกันและรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร
ทำให้มีอัตราการสูญเสียจากไก่ป่วยและตายลดลง สาโรชและคณะ (2547)18 ได้รายงานว่า ไก่เนื้อที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมฟ้าทะลายโจรขนาด 0.05-0.1%
ของอาหาร จนถึงอายุ 6 สัปดาห์
ไก่จะมีน้ำหนักตัวเทียบได้กับกลุ่มเสริมยาปฏิชีวนะ
แต่จะมีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า และในไก่ไข่ ไก่ที่ได้รับฟ้าทะลายโจรผง 0.05-0.1%
ของอาหาร ก็มีแนวโน้มผลิตไข่ดกกว่าและไข่มีคุณภาพภายในดีกว่ากลุ่มควบคุม
จะเห็นได้ว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรให้ผลที่ดีในสัตว์เช่นเดียวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
จึงน่าที่จะนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะได้
เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมและปัญหาการตกค้างของยาในเนื้อสัตว์ด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากสมุนไพรที่ใช้มีความเป็นพิษต่ำ
ราคาถูก และหาได้ง่ายเพราะสามารถปลูกได้เองในประเทศ
แต่อย่างไรก็ตามควรจะมีการศึกษาถึงสารสำคัญของฟ้าทะลายโจรที่อาจตกค้างในเนื้อสัตว์และอาจมีผลต่อผู้บริโภคได้
และยังต้องศึกษาถึงการยอมรับของผู้บริโภคในแง่ของกลิ่นและรสชาติของเนื้อสัตว์ที่อาจจะแตกต่างออกไปด้วย
บทสรุป
สมุนไพรฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับสารสำคัญแต่ละชนิดที่มีอยู่ในสมุนไพร
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรทั้งในรูปแบบของผงแห้งบรรจุแคปซูล ลูกกลอน ยาเม็ด
รวมไปถึงการเตรียมให้อยู่ในรูปสารสกัดฟ้าทะลายโจร
เนื่องจากมีความแปรปรวนของปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์แตกต่างกันออกไป
จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีฤทธิ์ไม่เท่ากันเมื่อใช้ในขนาดของยาที่เท่ากัน
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิธีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรเหล่านี้อย่างเหมาะสม
ซึ่งวิธีการนี้จะต้องสามารถหารูปแบบของสารสำคัญที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้แน่นอนเพื่อให้มั่นใจว่า
เมื่อนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้กลับมาใช้อีก
จะยังให้ฤทธิ์ในการรักษาในทุกๆครั้งเหมือนเช่นเดิม
และไม่มีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้สมุนไพรนี้
ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร
สำหรับประโยชน์ของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรนั้นจัดว่ามีอย่างมากมายเลยทีเดียว ที่สำคัญช่วยในการรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปดูกันดีกว่าว่าประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรนั้นจะส่งผลดีต่อการรักษาโรคต่างๆ และต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
1.ช่วยรักษาโรคหวัด
ตามตำรับแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคไข้หวัดมาตั้งแต่อดีตแล้ว เพราะในฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญทางพฤกษศาสตร์อยู่หลายชนิด เช่น สารไดเทอร์ปีนแลคโตน สารฟลาโวนอยด์ และสารประกอบอื่นๆ นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าฟ้าทะลายโจรสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
2.มีส่วนช่วยรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
อย่างที่ทราบกันดีว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรนั้นมีสรรพคุณช่วยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ค่อนข้างสูงว่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้ด้วยเช่นกัน
3.รักษาโรคลำไส้อักเสบ
เนื่องจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร มีคุณสมบัติช่วยในการยับยั้งการหลั่งของสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบภายในร่างกาย ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบจากการทดลองในสัตว์อีกด้วย ที่สำคัญฟ้าทะลายโจรยังถูกบรรจุเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของกระทรวงสาธารณสุข ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ดังนั้นจึงมักนำฟ้าทะลายโจรมาใช้ประโยชน์ในการบรรเทาและรักษาโรคลำไส้อักเสบ
4.ลดอาการเจ็บคอจากต่อมทอนซิลอักเสบ
สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณทางยาช่วยในการระงับอาการอักเสบและช่วยต้านเชื้อ เนื่องจากต่อมทอนซิลอักเสบนั้นเป็นอาการอักเสบของต่อมทอนซิลจากการติดเชื้อในช่องคอ ดังนั้นการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรจึงสามารถรักษาอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายนิยมทานฟ้าทะลายโจรตามความเชื่อของสูตรยาแผนโบราณในการรักษาอาการเจ็บคอซึ่งมีสาเหตุมาจากต่อมทอนซิลอักเสบนั่นเอง
5.รักษาโรคข้อรูมาตอยด์
เนื่องจากโรคข้อรูมาตอยด์เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดการอักเสบตามข้อและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อีกทั้งฟ้าทะลายโจรยังเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ โดยเฉพาะสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่มีอยู่ในสมุนไพรชนิดนี้ ถูกนำมาใช้เป็นการรักษาทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิต้านทานตนเองหรือโรคแพ้ภูมิตนเอง
6.แก้อาการท้องเสีย ท้องเดิน และอาหารเป็นพิษ
ในกลุ่มผู้ที่มีอาการท้องเสีย ท้องเดิน อาหารเป็นพิษ หรือเป็นบิดมีไข้ สามารถใช้ฟ้าทะลายโจรทั้งต้นรักษาได้ โดยเริ่มจากการนำทั้ง 5 ส่วนของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรไปผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 1 กำมือแล้วดื่มตลอดวัน วิธีนี้จะช่วยให้ฟ้าทะลายโจรเข้าไปขับเอาสารพิษในลำไส้ออก ช่วยลดการระคายเคืองต่อผนังของลำไส้ ช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ สามารถทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ
7.ช่วยรักษาไข้ไทฟอยด์
การทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรแบบแคปซูล 2 เม็ด 3 เวลาก่อนอาหาร โดยทานเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จะทำให้ฟ้าทะลายโจรไปทำลายเชื้อไทฟอยด์ที่มีการฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลือง ฝังตัวอยู่ในผนังลำไส้เล็ก ซึ่งลำไส้ที่เป็นอัมพาตอยู่แต่เดิมก็จะสามารถเริ่มทำงาน อีกทั้งยังช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี และช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ที่สำคัญหลังจากทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรแล้วควรกินยาบำรุง เพื่อช่วยฟื้นฟูกำลังของผู้ป่วยให้แข็งแรงเหมือนเดิม
8.รักษาโรคงูสวัด
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดควรทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรประมาณ 2-3 เม็ดก่อนอาหาร ทานวันละ 3 เวลา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งเพราะงูสวัดเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่อยู่นานถึง 3 สัปดาห์ ดังนั้นหากทานสมุนไพรชนิดนี้ครบตามเวลาที่กำหนด ก็จะไม่ทำให้งูสวัดกลับมาเป็นอีก แต่ในส่วนของตุ่มและแผลพุพองนั้น ให้ใช้ว่านนาคราช ยาเสลดพังพอน หรือใบจักรนารายณ์ตำใส่เข้าไปในสุราแล้วนำมาทาหรือพอกไว้
9.รักษาแผลจากโรคเบาหวาน
ในส่วนของการรักษาแผลที่เกิดจากการเป็นโรคเบาหวานนั้น สามารถใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาแผลอักเสบได้ เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำมาทาหรือกินก็ได้ตามแต่สะดวก
10.ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารให้ทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรครั้งละ 2-3 เม็ดก่อนอาหารทั้ง 3 เวลา รวมทั้งทานก่อนเข้านอน ซึ่งการทานสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยให้อาการเลือดออกหรือปวดถ่วงค่อยๆ หายไป นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายได้สะดวกขึ้นกว่าเดิมจนเป็นปกติ
ข้อควรระวังในการใช้ฟ้าทะลายโจร
1.ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเกิน 7 วัน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ที่ค่อนข้างแรง อาจทำให้เกิดการปวดท้อง ท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง วิงเวียนศีรษะได้ แต่ทางที่ดีหากกินติดต่อกันเกิน 3 วันแล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรหยุดกินแล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคต่อไป ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องทานต่อเนื่องเกิน 7 วันจริง ๆ ควรทานคู่กับน้ำขิงเพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว (น้ำขิงมีฤทธิ์ร้อน จึงช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้)
2.ไม่ควรนำฟ้าทะลายโจรมาใช้กับผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากฟ้าทะลายโจรก็มีสรรพคุณในการลดความดันโลหิตลง หากฝืนใช้ หรือใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจรู้สึกหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกมึนงงสับสน ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ควรหยุดใช้ทันทีแล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองภายใน 3-4 ชั่วโมง เนื่องจากฟ้าทะลายโจรไม่มีการตกค้างในร่างกาย
3.ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ "เย็น" จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้ที่มีฤทธิ์ "ร้อน" ถ้าหากว่าผู้ป่วยเป็นหวัดที่เกิดจากฤทธิ์ "เย็น" (เช่น มีอาการหนาวข้างในร่างกาย เป็นไข้แบบไม่มีเหงื่อ) แล้วใช้ฟ้าทะลายโจร อาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม
4.ฟ้าทะลายโจรมีผลข้างเคียงรุนแรง ควรสังเกตอาการผู้ทานอยู่เสมอว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะในรายที่มีการแพ้ฟ้าทะลายโจรมาก อาจมีอาการเริ่มต้นตั้งแต่ ผื่นขึ้น หน้าบวม ตัวบวม หายใจไม่ออก ถึงขั้นเสียชีวิตได้ทันที
5.สตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ และอยู่ในช่วงให้นมบุตร ไม่ควรกินฟ้าทะลายโจรในช่วงนี้ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเด็ก และทำให้เกิดความผิดปกติได้
สำหรับประโยชน์ของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรนั้นจัดว่ามีอย่างมากมายเลยทีเดียว ที่สำคัญช่วยในการรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปดูกันดีกว่าว่าประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรนั้นจะส่งผลดีต่อการรักษาโรคต่างๆ และต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
1.ช่วยรักษาโรคหวัด
ตามตำรับแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคไข้หวัดมาตั้งแต่อดีตแล้ว เพราะในฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญทางพฤกษศาสตร์อยู่หลายชนิด เช่น สารไดเทอร์ปีนแลคโตน สารฟลาโวนอยด์ และสารประกอบอื่นๆ นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าฟ้าทะลายโจรสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
2.มีส่วนช่วยรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
อย่างที่ทราบกันดีว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรนั้นมีสรรพคุณช่วยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ค่อนข้างสูงว่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้ด้วยเช่นกัน
3.รักษาโรคลำไส้อักเสบ
เนื่องจากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร มีคุณสมบัติช่วยในการยับยั้งการหลั่งของสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบภายในร่างกาย ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบจากการทดลองในสัตว์อีกด้วย ที่สำคัญฟ้าทะลายโจรยังถูกบรรจุเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของกระทรวงสาธารณสุข ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ดังนั้นจึงมักนำฟ้าทะลายโจรมาใช้ประโยชน์ในการบรรเทาและรักษาโรคลำไส้อักเสบ
4.ลดอาการเจ็บคอจากต่อมทอนซิลอักเสบ
สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณทางยาช่วยในการระงับอาการอักเสบและช่วยต้านเชื้อ เนื่องจากต่อมทอนซิลอักเสบนั้นเป็นอาการอักเสบของต่อมทอนซิลจากการติดเชื้อในช่องคอ ดังนั้นการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรจึงสามารถรักษาอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายนิยมทานฟ้าทะลายโจรตามความเชื่อของสูตรยาแผนโบราณในการรักษาอาการเจ็บคอซึ่งมีสาเหตุมาจากต่อมทอนซิลอักเสบนั่นเอง
5.รักษาโรคข้อรูมาตอยด์
เนื่องจากโรคข้อรูมาตอยด์เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดการอักเสบตามข้อและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย อีกทั้งฟ้าทะลายโจรยังเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ โดยเฉพาะสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่มีอยู่ในสมุนไพรชนิดนี้ ถูกนำมาใช้เป็นการรักษาทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิต้านทานตนเองหรือโรคแพ้ภูมิตนเอง
6.แก้อาการท้องเสีย ท้องเดิน และอาหารเป็นพิษ
ในกลุ่มผู้ที่มีอาการท้องเสีย ท้องเดิน อาหารเป็นพิษ หรือเป็นบิดมีไข้ สามารถใช้ฟ้าทะลายโจรทั้งต้นรักษาได้ โดยเริ่มจากการนำทั้ง 5 ส่วนของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรไปผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 1 กำมือแล้วดื่มตลอดวัน วิธีนี้จะช่วยให้ฟ้าทะลายโจรเข้าไปขับเอาสารพิษในลำไส้ออก ช่วยลดการระคายเคืองต่อผนังของลำไส้ ช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ สามารถทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ
7.ช่วยรักษาไข้ไทฟอยด์
การทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรแบบแคปซูล 2 เม็ด 3 เวลาก่อนอาหาร โดยทานเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จะทำให้ฟ้าทะลายโจรไปทำลายเชื้อไทฟอยด์ที่มีการฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลือง ฝังตัวอยู่ในผนังลำไส้เล็ก ซึ่งลำไส้ที่เป็นอัมพาตอยู่แต่เดิมก็จะสามารถเริ่มทำงาน อีกทั้งยังช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี และช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ที่สำคัญหลังจากทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรแล้วควรกินยาบำรุง เพื่อช่วยฟื้นฟูกำลังของผู้ป่วยให้แข็งแรงเหมือนเดิม
8.รักษาโรคงูสวัด
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดควรทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรประมาณ 2-3 เม็ดก่อนอาหาร ทานวันละ 3 เวลา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งเพราะงูสวัดเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่อยู่นานถึง 3 สัปดาห์ ดังนั้นหากทานสมุนไพรชนิดนี้ครบตามเวลาที่กำหนด ก็จะไม่ทำให้งูสวัดกลับมาเป็นอีก แต่ในส่วนของตุ่มและแผลพุพองนั้น ให้ใช้ว่านนาคราช ยาเสลดพังพอน หรือใบจักรนารายณ์ตำใส่เข้าไปในสุราแล้วนำมาทาหรือพอกไว้
9.รักษาแผลจากโรคเบาหวาน
ในส่วนของการรักษาแผลที่เกิดจากการเป็นโรคเบาหวานนั้น สามารถใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรรักษาแผลอักเสบได้ เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำมาทาหรือกินก็ได้ตามแต่สะดวก
10.ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารให้ทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรครั้งละ 2-3 เม็ดก่อนอาหารทั้ง 3 เวลา รวมทั้งทานก่อนเข้านอน ซึ่งการทานสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยให้อาการเลือดออกหรือปวดถ่วงค่อยๆ หายไป นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายได้สะดวกขึ้นกว่าเดิมจนเป็นปกติ
ข้อควรระวังในการใช้ฟ้าทะลายโจร
1.ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเกิน 7 วัน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ที่ค่อนข้างแรง อาจทำให้เกิดการปวดท้อง ท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง วิงเวียนศีรษะได้ แต่ทางที่ดีหากกินติดต่อกันเกิน 3 วันแล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรหยุดกินแล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคต่อไป ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องทานต่อเนื่องเกิน 7 วันจริง ๆ ควรทานคู่กับน้ำขิงเพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว (น้ำขิงมีฤทธิ์ร้อน จึงช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้)
2.ไม่ควรนำฟ้าทะลายโจรมาใช้กับผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากฟ้าทะลายโจรก็มีสรรพคุณในการลดความดันโลหิตลง หากฝืนใช้ หรือใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจรู้สึกหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกมึนงงสับสน ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ควรหยุดใช้ทันทีแล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองภายใน 3-4 ชั่วโมง เนื่องจากฟ้าทะลายโจรไม่มีการตกค้างในร่างกาย
3.ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ "เย็น" จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้ที่มีฤทธิ์ "ร้อน" ถ้าหากว่าผู้ป่วยเป็นหวัดที่เกิดจากฤทธิ์ "เย็น" (เช่น มีอาการหนาวข้างในร่างกาย เป็นไข้แบบไม่มีเหงื่อ) แล้วใช้ฟ้าทะลายโจร อาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม
4.ฟ้าทะลายโจรมีผลข้างเคียงรุนแรง ควรสังเกตอาการผู้ทานอยู่เสมอว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะในรายที่มีการแพ้ฟ้าทะลายโจรมาก อาจมีอาการเริ่มต้นตั้งแต่ ผื่นขึ้น หน้าบวม ตัวบวม หายใจไม่ออก ถึงขั้นเสียชีวิตได้ทันที
5.สตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ และอยู่ในช่วงให้นมบุตร ไม่ควรกินฟ้าทะลายโจรในช่วงนี้ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเด็ก และทำให้เกิดความผิดปกติได้
ไข้หวัด (Common Cold)
คือ
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง โดยเชื้อที่ก่อให้เกิดไข้หวัดมักเป็นเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรง และสามารถหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
การรักษาไข้หวัดทำได้ด้วยการใช้ยา ควบคู่กับการนอนพักผ่อน และดื่มน้ำมาก ๆ
อาการของไข้หวัด
อาการของไข้หวัดจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด
เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัด จะมีอาการดังต่อไปนี้
1. เจ็บคอ
2. น้ำมูกไหล
3. คัดจมูกหายใจได้ไม่สะดวกเนื่องจากจมูกบวม และมีน้ำมูกอุดตันภายในจมูก
4. ไอและจาม
5. เสียงแหบ
6. อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว
นอกจากนี้ ในบางกรณีผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ที่สืบเนื่องมากจากไข้หวัด เช่น
1. ไข้สูง 37-39 องศาเซลเซียส
2. ปวดศีรษะ หรือปวดหู
3. ปวดหู หากมีอาการปวดมาก ๆ
อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่หู
4. ปวดกล้ามเนื้อ
5. สูญเสียการรับรู้รสชาติและกลิ่น
6. มีอาการระคายเคืองที่ดวงตา หรือมีตาแดง
ขี้ตาแฉะร่วมด้วย
7. รู้สึกถึงแรงดันภายในหู และบริเวณใบหน้า
เมื่อเริ่มมีอาการไข้หวัด ความรุนแรงของอาการจะมีมากในช่วง 2-3 วันแรก
ก่อนจะค่อย ๆ ทุเลาลง ทั้งนี้โรคไข้หวัดมักมีอาการประมาณ 7-14 วัน โดยในผู้ใหญ่และเด็กโตจะมีอาการประมาณ 7-10 วัน
ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จะมีอาการประมาณ 10-14
วัน
แม้อาการจะดีขึ้นแล้วแต่ผู้ป่วยอาจมีอาการไอหลงเหลืออยู่ต่อไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะหายเป็นปกติ
ในระหว่างที่ป่วยเป็นไข้หวัด
ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลควรติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้
ผู้ใหญ่
1. ไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 5 วันขึ้นไป
2. กลับมามีไข้ซ้ำหลังจากอาการไข้หายแล้ว
3. หายใจหอบเหนื่อย และหายใจมีเสียงหวีด
4. เจ็บคออย่างรุนแรง ปวดศีรษะ หรือมีอาการปวดบริเวณไซนัส
เด็ก
1. มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ในเด็กแรกเกิด-12 สัปดาห์
2. มีอาการไข้สูงต่อเนื่องกันมากกว่า 2 วัน
3. อาการต่าง ๆ ของไข้หวัดรุนแรงมากขึ้น
หรือรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
4. มีอาการปวดหัว หรือไออย่างรุนแรง
5. หายใจมีเสียงหวีด
6. เด็กมีอาการงอแงอย่างรุนแรง
7. ง่วงนอนมากผิดปกติ
8. ความอยากอาหารลดลง ไม่ยอมรับประทานอาหาร
ทั้งนี้อาการไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ จะค่อนข้างคล้ายกัน
อาจสับสนได้ แต่ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถสังเกตความแตกต่างได้โดยหากเป็นไข้หวัดใหญ่
อาการจะเกิดอย่างรุนเร็ว และมีอาการหลัก ๆ คือ ไข้สูง ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ
อีกทั้งจะรู้สึกไม่สบายตัวจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
แต่อาการไข้หวัดทั่วไปจะไม่รุนแรง และยังคงทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ
แต่จะมีอาการที่เห็นได้ชัดคือไอ และมีน้ำมูก เป็นต้น
สาเหตุของไข้หวัด
ไข้หวัดมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส
ซึ่งเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดมีหลากหลายชนิด
แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อไรโนไวรัส (Rhinoviruses) ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้อาการของผู้ป่วยหอบหืดกำเริบได้
และเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่หูได้
ทั้งนี้เชื้อไวรัสไรโนไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางปาก
ตา จมูก อีกทั้งยังแพร่กระจายในอากาศได้
ติดต่อกันได้ในกรณีที่มีการสัมผัสกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือใช้ของใช้ต่าง ๆ
ร่วมกับผู้ป่วย และไม่ล้างมือก่อนนำมือไปจับที่บริเวณตา ปาก และจมูก
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนี้
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ มักเป็นไข้หวัดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ได้แก่
1. อายุ เด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี
มีความเสี่ยงป่วยด้วยไข้หวัดสูง โดยเฉพาะเด็กที่ต้องอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือเนอสเซอรี่
2. ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเรื้อรัง
หรือมีภาวะสุขภาพที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอมีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยไข้หวัดได้ง่ายกว่าปกติ
3. ช่วงเวลา โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเด็ก
หรือผู้ใหญ่มักจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน และหรือฤดูหนาว
4. สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มจะป่วยด้วยไข้หวัดได้ง่าย
และหากเป็นก็จะอาการรุนแรงกว่าปกติอีกด้วย
5. อยู่ในที่ที่ผู้คนพลุกพล่าน สถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน
ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดได้ง่าย
การวินิจฉัยไข้หวัด
ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยสามารถวินิจฉัยโรคไข้หวัดได้เองจากอาการที่เกิด
แต่หากผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าเป็นอาการไข้หวัดหรือไม่ก็ควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่เป็น
และตรวจร่างกาย หากเป็นอาการของไข้หวัดธรรมดา ก็จะไม่มีการตรวจเพิ่มเติม
แต่หากแพทย์สงสัยว่าน่าจะเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจมากกว่าไข้หวัด
แพทย์อาจสั่งตรวจด้วยวิธีการเอกซเรย์ และตรวจด้วยวิธีการของห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจน้ำมูก หรือการตรวจเลือด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยยืนยันผลต่อไป
การรักษาไข้หวัด
ไข้หวัดเป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษาได้โดยตรง
แต่บรรเทาอาการของไข้หวัดลงได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. พักผ่อนมาก ๆ การนอนหลับจะช่วยให้อาการของไข้หวัดดีขึ้นได้
อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ๆ
เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยยิ่งอ่อนเพลียมากกว่าเดิม
2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ผู้ป่วยไข้หวัดนั้นมักจะสูญเสียน้ำจากเหงื่อที่เกิดขึ้นจากไข้
และน้ำมูกที่มากพร้อมกับอาการคัดจมูก
การดื่มน้ำให้มากขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นได้
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วยิ่งขึ้น
นอกจากนี้
การใช้ยาเพื่อรักษาไข้หวัดเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้อาการป่วยหายได้เร็วขึ้น
โดยยาใช้รักษาไข้หวัด ได้แก่
4. ยาแก้ปวดลดไข้ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยและลดไข้
โดยยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาพารา และยาไอบรูเฟน
5. ยาแก้คัดจมูก (Decongestants) ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น
5. ยาแก้คัดจมูก (Decongestants) ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น
6. ยาลดน้ำมูก เป็นยาที่ใช้ร่วมกับยาแก้ปวดและยาแก้คัดจมูก
ช่วยให้ไข้หวัดหายได้เร็วยิ่งขึ้น
7. ยาแก้ไอ คือยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการไอมีเสมหะ
ซึ่งจะช่วยให้เสมหะนิ่มลงและขับออกได้ง่ายขึ้น
ในรายที่มีอาการไอหรืออาการเจ็บคอร่วมด้วย
บรรเทาอาการได้ด้วยการอมยาอมแก้เจ็บคอ หรือสเปรย์พ่นเพื่อช่วยให้ชุ่มคอมากขึ้น และลดอาการเจ็บคอลงได้
ภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัด
แม้ว่าไข้หวัดจะหายได้เอง
แต่โรคนี้อาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดไปยังอวัยวะใกล้เคียงจนกลายเป็นภาวะแทรกซ้อนได้ ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้บ่อย
คือ
1. การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง (Otitis Media) เกิดขึ้นจากการที่เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสแพร่กระจายเข้าไปที่ด้านหลังของแก้วหู
ทำให้เกิดการติดเชื้อภายในหูชั้นกลาง โดยอาการที่สังเกตได้ชัดเจนคือ อาการปวดหู
บางกรณีอาจมีหนองสีเหลือง หรือสีเขียวไหลออกมาจากหู
อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการไข้ได้อีกด้วย หากปล่อยไว้จะทำให้แก้วหูทะลุได้
2. โรคหอบหืด หรือการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด
หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไข้หวัดอาจไปกระตุ้นให้อาการกำเริบได้โดยสัญญาณที่สามารถเห็นได้หากเกิดอาการกำเริบคือ ภาวะหายใจหอบเหนื่อย และหายใจมีเสียงหวีด
3. ไซนัสอักเสบ (Acute Sinusitis) เชื้อไวรัส
หรือเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไข้หวัด อาจเข้าไปภายในโพรงไซนัส
และก่อให้เกิดอาการติดเชื้อภายในจนกลายเป็นไซนัสอักเสบได้
4. คออักเสบ หากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียจากไข้หวัดแพร่กระจายเข้าไปภายในลำคอ
จะทำให้เกิดอาการคออักเสบ ซึ่งนำมาสู่อาการเจ็บคอและไอ
5. หลอดลมอักเสบ หากเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของไข้หวัดแพร่กระจายลงมาที่หลอดลมอาจทำให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบได้
อาการที่เห็นได้ชัดคือ มีอาการไอมากขึ้น และมักไอเป็นชุด ๆ
6. ปอดบวม เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยไข้หวัด มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสแพรกระจายลงไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งหากไม่รีบรักษาจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้นจนเป็นอันตรายได้
การป้องกันไข้หวัด
ไข้หวัดเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย
แต่ป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
เนื่องจากเชื้อไวรัสติดต่อผ่านทางการหายใจได้ นอกจากนี้
ยังควรหมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ หากต้องหยิบจับสิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
และไม่ควรใช้มือสัมผัสกับปาก จมูก และตาโดยที่ไม่ได้ล้างมือก่อน
เพราะอาจทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ขณะที่ผู้ป่วยควรระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น
โดยใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และปิดปากเวลาที่ไอหรือจาม
หมั่นล้างมือบ่อย ๆ หลังจากไอ จาม หรือสั่งน้ำมูก
หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น ไม่เข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนมาก หรือหากเป็นไปได้ควรหยุดพักอยู่บ้านเมื่อเป็นไข้หวัดจนกว่าอาการจะดีขึ้น
แหล่งที่มา
นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา และจุฑามาศ สัตยวิวัฒน์. (2559).ฟ้าทะลายโจร
(Andrographis paniculata) – ข้อมูลวิชาการที่น่ารู้. ค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561, จาก http://www.eht.sc.mahidol.ac.th/article/1818
POBPAD. (2559).
ความหมาย ไข้หวัด. ค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561,
จาก https://www.pobpad.com/ไข้หวัด
https://www.honestdocs.co/the-benefits-of-the-kariyat
https://medthai.com/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3/
https://www.nanagarden.com/product/143535
https://www.caherbal.com/10%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87/
https://kiattikoon107.wordpress.com/2016/01/24/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3/
http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2512
https://www.honestdocs.co/the-benefits-of-the-kariyat
https://medthai.com/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3/
https://www.nanagarden.com/product/143535
https://www.caherbal.com/10%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87/
https://kiattikoon107.wordpress.com/2016/01/24/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3/
http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2512
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น